สแตค (Stack)
สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้
การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก ยกตัวอย่างการทำงานแบบ LIFO เช่น การวางจานซ้อนกัน
รูปแสดงลักษณะของสแตค ที่ประกอบด้วยข้อมูล A , B , C , D และ E มี TOP ที่ชี้ที่สมาชิกตัวบนสุดของสแตค



Operation ของสแตค
  • การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค (pushing stack)
  • การดึงข้อมูลออกจากสแตค (popping stack)
การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค
การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค คือ การนำเข้ามูลเข้าสู่สแตคโดยทับข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตค ข้อมูลจะสามารถนำเข้าได้เรื่อยๆ จนกว่าสแตคจะเต็ม สมมติว่าสแตคจองเนื้อที่ไว้ N ตัว ถ้าหากค่า TOP เป็น 0 แสดงว่าสแตคว่าง หากค่า TOP = N แสดงว่าสแตคเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลลงในสแตคได้อีก

จากรูปแสดง การ Push ข้อมูล ABC ลงในสแตคที่มีการจองเนื้อที่ไว้ N ตัว โดยมี TOP ชี้ข้อมูลตัวที่เข้ามาล่าสุด โดยค่าของ TOP จะเพิ่มขึ้นทุกครั้งเมื่อมีข้อมูลเข้ามาในสแตค

การดึงข้อมูลออกจากสแตค
ก่อนที่จะดึงข้อมูลออกจากสแตคต้องตรวจสอบก่อนว่าสแตคมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หรือว่าเป็นสแตคว่าง (Empty Stack)


การใช้ สแตค เพื่อแปลรูปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
รูปแบบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
• นิพจน์ Infix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่ระหว่างตัวดำเนินการ (Operands) เช่น A+B-C
• นิพจน์ Prefix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หน้าตัวดำเนินการ (Operands) เช่น +-AB
• นิพจน์ Postfix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หลังตัวดำเนินการ (Operands) เช่น AC*+


การประยุกต์ของสแตก
สแตกเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีประโยชน์มาก ถูกนำไปใช้ทั้งในซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) และในการประยุกต์โดยยูสเซอร์ เช่น ช่วยคอมไพเลอร์ (Compiler) สร้างกฏเกณฑ์ของการโปรแกรมมิ่งเกี่ยวกับการเรียกโปรแกรมย่อย กฏเกณฑ์ของการโปรแกรมมิ่งอีกอย่างคือ คำสั่งเงื่อนไขซ้อน (Nested IF) ก็เช่นกัน สแตก ช่วยบอกว่า Else นี้คู่กับ IF ใด ซึ่งมีกฏเกณฑ์ว่า Else แรกจะคู่กับ If หลังสุด และ Else ถัดไป ก็จะคู่กับ IF ที่ถัดขึ้นไป จาก IF หลังสุด



ตัวอย่าง Stack ในชีวิตประจำวัน
พูชดาวน์ลิสต์ (Pushdown List) คือสมาชิกที่เข้าลิสต์ที่หลังสุดจะได้ออกจากลิสต์ก่อน หรือ เข้าหลังออกก่อน
Stack ที่เจอคือ ขนมปังแถวที่เราซื้อมาทานม หรือทำแซนวิช ทานกันนั้นจะมาเป็นแบบแถวๆโดยการวางเรียนกันโดยขนมปังแผ่นสุดท้ายที่ถูกบรรจุใส่ห่อจะโดนหยิบขึ้นมาเพื่อทานก่อนเป็นแผ่นแรก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น